จัดทำโดย
นายวีรวุธ มานอก 513030436-2
นายวีรศักดิ์ จำปาหลู่ 513030202-7
นายศราบดินทร์ ประหยัดทรัพย์ 513030319-6
นายอิศรานุต์ มวลมนตรี 513030256-4
นายพงศกร สิทธิ์กุลชัย 513030387-9
นายอภิไท ไม่เศร้า 513030473-6
ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
อาหารกระต่าย
วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาหารกระต่าย
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาหารกระต่าย ที่จริงแล้ว อาหารหลักของกระต่ายคือ หญ้า เพราะสัตว์กินพืช ขนาดกระต่ายนี่ มันไม่มีปัญญาจะปีนป่ายขึ้นไปกินอะไรได้ แต่ก็นั่นแหละ ถ้าจะบอกว่าการเลี้ยงกระต่ายโดยให้กินเฉพาะหญ้าอย่างเดียวก็คงไม่มีใครเชื่อ ที่สำคัญก็คือ แม่ ๆ พ่อ ๆ ที่เลี้ยง กระต่ายอยู่ในเมือง แล้วรักเหมือนลูกอย่างพวกเรานี่ จะไปหาหญ้าหลากหลายชนิดจากที่ไหนให้เขา อีกอย่างหนึ่งอาหารกระต่ายที่ ผลิตออกมาขายกันนั้นมีมากมายและล้วนแต่บรรยาย สรรพคุณกันสุด ๆ ทั้งนั้น ซึ่งก็เหมาะสมเช่นกันที่จะนำมาเลี้ยงกระต่ายในห้อง หรือในบ้านของเรา บทความนี้จึงขอเดินสายกลาง คือขอให้คำแนะนำที่ถูกต้องและทำได้ ในการให้อาหารกระต่ายโดย ขอให้แบ่งช่วงวัยของกระต่าย ออกเป็น ช่วง ๆ ดังนี้ 1. กระต่ายวัยทารก (Infant/Baby) คือกระต่ายแรกเกิดจนถึง 1 เดือนครึ่ง 2. กระต่ายวัยเด็ก (Kids) คือเริ่มจากหย่านม ( ประมาณ 1 เดือนครึ่ง) จนถึง 3 เดือน 3. กระต่ายวัยรุ่น (Junior) คือช่วงหลัง 3 เดือน จนถึง 5 หรือ 6 เดือนแล้วแต่สายพันธุ์ 4. กระต่ายโตเต็มวัย (Adult /Senior) เป็นกระต่ายที่พ้นวัยรุ่นมาแล้ว เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ 5. กระต่ายที่เริ่มตั้งท้อง และช่วงให้นมลูก 6. กระต่ายมีอายุ...อันนี้พูดยาก ว่าจะเริ่มที่อายุเท่าไหร่ เป็นว่าพ้นวัย(ที่ควรจะ) ผสมพันธุ์ก็ แล้วกัน คือตกอยู่ในช่วง 4 ปีขึ้นไป สำหรับกระต่ายเพศเมีย ส่วนเพศผู้ก็อาจประมาณ 5 ปี
สูตรอาหารกระต่าย
สูตรอาหารของสัตว์เลี้ยงแต่ละช่วงอายุโดยใช้ Least-cost linear program
สูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงกระต่ายแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. อาหารหยาบ ( Roughage ) หมายถึง อาหารที่มีโภชนะย่อยได้ต่ำ มีเยื่อใยสูง ซึ่งหมายถึงอาหารที่กินเข้าไปแล้ว เหลือกากขับถ่ายออกมาเป็นของเสียมาก ส่วนใหญ่ได้มาจากลำต้น และใบของพืชตระกูลหญ้า และพืชตระกูลถั่ว เช่น หญ้าเนเปียร์ หญ้าขน หญ้ากินนี กระถิน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วซีราโต ถั่วไกลซีน ถั่เทาสวิลสไลโล เป็นต้น หรืออาจจะใช้ต้นพืชผักชนิดต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักโขม ผักกาด คะน้า กะหล่ำปลี แครอท ผักกาดหอม หัวผักกาด มันเทศ มันแกว ฯลฯ เลี้ยงกระต่ายก็ได้ อาหารหยาบประเภทใบพืช ผัก หญ้า ควรให้กินเต็มที่ กระต่ายชอบหญ้าสด ผักสด มากกว่าตากแห้ง แต่หญ้าแห้งก็อาจใช้ได้ แต่ควรเป็นหญ้าที่อยู่ในระยะยังอ่อน ตากแห้งสะอาดไม่มีรา ไม่สกปรก ไม่มียาฆ่าแมลง ควรหั่นเป็นท่อนๆได้ยาวพอควร 2. อาหารข้น ( Concentrate ) แม้ว่ากระต่ายจะสามารถยังชีพและขยายพันธุ์ตามปกติธรรมชาติ โดยอาศัยอาหารประเภทต้นหญ้า ใบพืชได้ก็ตาม แต่หากเราต้องการให้มันเจริญเติบโต ให้ผลผลิตเร็ว ให้เนื้อมาก ให้ขยายพันธุ์มีลูกดก ได้ลูกปีละหลายตัว เราจะต้องเลี้ยงดูให้ดี โดยมีอาหารข้น ( Concentrates ) เพิ่มเสริมให้ด้วย อาหารข้นนี้เป็นอาหารที่มีโภชนะย่อยได้สูง มีเยื่อใยต่ำ ย่อยง่าย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 2.1 อาหารที่เป็นแหล่งพลังงาน คือ อาหารที่มีแป้ง และน้ำตาล ( คาร์โบไฮเดรต ) หรือไขมันสูง ได้แก่ รำ ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันเส้น และไขมันจากพืชหรือสัตว 2.2 อาหารที่เป็นแหล่งโปรตีน ได้แก่ นมผง ปลาป่น กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง และใบกระถินป่น สำหรับอาหารข้น ควรเสริมให้กินในตอนบ่าย กระต่ายไม่ได้เสริมด้วยอาหารข้นควรมีแร่ธาตุประกอบด้วย เกลือ กระดูกป่น และเปลือกหอยบด อย่างละเท่าๆกัน ผสมให้เข้ากัน ตั้งให้กินตามใจชอบ อาหารป่นที่แห้งอาจผสมน้ำเล็กน้อยพอชื้น เพื่อสะดวกในการกินและ จะช่วยมิให้ร่วงหล่นเสียหาย 3. อาหารสำเร็จรูป ( Complete feed ) เกิดจากการนำอาหารข้นและหยาบมารวมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม มีสภาพเป็นผงหรืออัดเป็นเม็ด นำมาใช้เลี้ยงกระต่ายได้สะดวก กระต่ายที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียวในปริมาณที่เพียงพอ จะสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่ในการเลี้ยงทั่วไปนิยมเสริมหญ้าสด เพื่อลดต้นทุนและควรให้หญ้าหลังจากที่กระต่ายกิน อาหารสำเร็จรูปในปริมาณมาก พอสมควร เพื่อให้กระต่ายได้รับสารอาหารที่จะเป็นอย่างเพียงพอ ตารางที่ 3 แสดงตัวอย่างสูตรวัตถุดิบอาหารที่ใช้เลี้ยงกระต่าย
วัตถุดิบและคุณภาพคิดเป็นเปอร์เซ็นต์โปรตีน | ระยะ | |||
เจริญเติบโต | ดำรงชีพ | ตั้งท้อง | เลี้ยงลูก | |
ข้าวโพด (7.7%) | 15 | 15 | 15 | 15 |
ปลายข้าว (8.11%) | 30 | 32 | 29 | 24 |
รำละเอียด (8.41%) | 33 | 40.5 | 36 | 36 |
กากถั่วเหลือง (46.4%) | 17 | 10.5 | 15 | 20 |
ปลาป่น (58.65%) | 3 | - | 3 | 3 |
กระดูกป่น | 0.5 | 0.5 | 0.5 | 0.5 |
เปลือกหอย | 0.5 | 0.5 | 0.5 | 0.5 |
ไวตามินและแร่ธาตุ | 0.5 | 0.5 | 0.5 | 0.5 |
เกลือป่น | 0.5 | 0.5 | 0.5 | 0.5 |
รวม (กิโกกรัม) | 100 | 100 | 100 | 100 |
โปรตีน (%) | 16.0 | 12.04 | 15.25 | 17.16 |
ความต้องการโภชนะของกระต่าย
ความต้องการโภชนะของกระต่ายในแต่ละช่วงอายุและมาตรฐานการให้อาหารกระต่าย ระดับโภชนะที่กระต่ายต้องการนั้นเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ พันธุ์ น้ำหนัก ระยะการเจริญเติบโต อุณหภูมิและสภาพแวดล้อมอื่นๆ ความต้องการโภชนะของกระต่ายที่เลี้ยงแบบให้กินอาหารเต็มที่ ได้แสดงไว้ในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ความต้องการโภชนะของกระต่าย
ประเภทโภชนะ | ระยะ | |||
เจริญเติบโต | ดำรงชีพ | ตั้งท้อง | เลี้ยงลูก | |
พลังงานย่อย ( แคลอรี่ ) | 2,500 | 2,100 | 2,500 | 2,500 |
โภชนะย่อยได ้(%) | 65 | 55 | 58 | 70 |
เยื่อใย (%) | 10-12 | 10-12 | 10-12 | 10-12 |
ไขมัน (%) | 2 | 2 | 2 | 2 |
โปรตีน (%) | 16 | 12 | 15 | 17 |
แคลเซี่ยม (%) | 0.4 | * | 0.45 | 0.75 |
ฟอสฟอรัส (%) | 0.22 | * | 0.37 | 0.75 |
*กระต่ายต้องการ แต่ไม่ทราบปริมาณที่แน่นอน
โภชนะของกระต่าย ชนิดต่าง ๆ ที่อาจเลือกใช้เลี้ยงกระต่ายได้แสดงไว้ในตารางที่2 ตารางที่ 2 ส่วนประกอบทางอาหารของอาหารกระต่ายบางชนิด(%)ที่มา : ภาควิชาสัจวบาล, 2528. หลักการเลี้ยงสัตว์ทั่วไป. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 127-131 หมายเหตุ % อ่านว่า เปอร์เซนต์ หมายถึงร้อยละ
ชนิดอาหาร วัตถุแห้ง โปรตีนย่อยได้ ยอดโภชนะย่อยได้ โปรตีนรวม ไขมัน สารเยื่อใย แป้งน้ำตาล เถ้า แคลเซียม ฟอสฟอรัส กากถั่วเหลือง 90.9 37.2 78.4 45.3 5.3 5.7 29.6 6.0 0.29 0.66 กากถั่วลิสง 93.0 41.9 68.5 47.1 1.5 14.9 25.0 4.5 0.16 0.54 กากทานตะวัน 94.3 45.0 70.8 49.5 4.9 5.4 28.6 5.9 0.26 1.22 กากเต้าหู้สด 14.1 4.7 12.8 5.5 0.7 1.6 5.8 0.5 - - กากเต้าหู้แห้ง 90.8 - - 21.9 6.9 20.9 26.7 4.5 - - กากสัปรดแห้ง 85.3 1.0 60.1 4.0 1.9 19.4 57.2 2.8 0.16 0.15 ข้าวกล้อง 87.8 7.0 81.0 9.1 2.1 1.1 74.5 1.1 0.04 0.25 ปลายข้าว 88.3 5.8 81.6 7.5 1.6 1.6 78.8 1.8 1.04 0.10 ข้าวฟ่าง 89.6 8.4 79.9 10.8 2.8 2.3 71.1 2.0 0.02 0.32 เมล็ดข้าวโพด 85.0 6.7 80.1 8.7 3.9 6.2 60.2 1.2 0.32 0.27 รำข้าวละเอียด 85.7 10.3 66.2 13.0 13.2 9.9 34.6 12.8 0.05 1.18 มันเส้น, สำปะหลัง 88.3 1.3 82.5 1.9 0.7 3.0 80.5 2.2 - - มันเทศสด, หัว 31.8 0.2 25.6 1.6 0.5 1.9 26.7 1.2 0.04 0.04 กระถินใบสด 32.5 4.0 17.2 6.1 0.7 12.3 11.2 2.2 0.28 0.07 กระถินใบแห้ง 91.2 18.3 66.8 24.4 4.6 14.9 39.4 7.9 0.76 0.19 ข้าวโพด, ต้นสด 22.7 0.5 13.0 1.3 0.4 6.0 13.6 1.4 0.07 0.01 เซนโตรซีมา, ต้นสด 19.5 2.6 9.7 4.6 0.7 6.2 6.4 1.6 - - หญ้าขนทั่วไปเฉลี่ย 27.8 1.0 14.9 1.8 0.4 10.0 12.7 2.9 - - หญ้าซอกัม 84.1 6.8 41.0 11.9 1.7 24.2 39.2 1.7 - - ผักบุ้ง 6.2 - - 2.2 0.5 0.7 2.4 0.5 - - ผักตบชวา 9.8 0.4 4.6 1.1 0.1 2.2 4.5 1.5 - -
อาหารกระต่าย
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาหารกระต่าย
ที่จริงแล้ว อาหารหลักของกระต่ายคือ หญ้า เพราะสัตว์กินพืช ขนาดกระต่ายนี่ มันไม่มีปัญญาจะปีนป่ายขึ้นไปกินอะไรได้ แต่ก็นั่นแหละ ถ้าจะบอกว่าการเลี้ยงกระต่ายโดยให้กินเฉพาะหญ้าอย่างเดียวก็คงไม่มีใครเชื่อ ที่สำคัญก็คือ แม่ ๆ พ่อ ๆ ที่เลี้ยง กระต่ายอยู่ในเมือง แล้วรักเหมือนลูกอย่างพวกเรานี่ จะไปหาหญ้าหลากหลายชนิดจากที่ไหนให้เขา อีกอย่างหนึ่งอาหารกระต่ายที่ ผลิตออกมาขายกันนั้นมีมากมายและล้วนแต่บรรยาย สรรพคุณกันสุด ๆ ทั้งนั้น ซึ่งก็เหมาะสมเช่นกันที่จะนำมาเลี้ยงกระต่ายในห้อง หรือในบ้านของเรา บทความนี้จึงขอเดินสายกลาง คือขอให้คำแนะนำที่ถูกต้องและทำได้ ในการให้อาหารกระต่ายโดย ขอให้แบ่งช่วงวัยของกระต่าย ออกเป็น ช่วง ๆ ดังนี้ 1. กระต่ายวัยทารก (Infant/Baby) คือกระต่ายแรกเกิดจนถึง 1 เดือนครึ่ง 2. กระต่ายวัยเด็ก (Kids) คือเริ่มจากหย่านม ( ประมาณ 1 เดือนครึ่ง) จนถึง 3 เดือน 3. กระต่ายวัยรุ่น (Junior) คือช่วงหลัง 3 เดือน จนถึง 5 หรือ 6 เดือนแล้วแต่สายพันธุ์ 4. กระต่ายโตเต็มวัย (Adult /Senior) เป็นกระต่ายที่พ้นวัยรุ่นมาแล้ว เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ 5. กระต่ายที่เริ่มตั้งท้อง และช่วงให้นมลูก 6. กระต่ายมีอายุ...อันนี้พูดยาก ว่าจะเริ่มที่อายุเท่าไหร่ เป็นว่าพ้นวัย(ที่ควรจะ) ผสมพันธุ์ก็ แล้วกัน คือตกอยู่ในช่วง 4 ปีขึ้นไป สำหรับกระต่ายเพศเมีย ส่วนเพศผู้ก็อาจประมาณ 5 ปี
ที่จริงแล้ว อาหารหลักของกระต่ายคือ หญ้า เพราะสัตว์กินพืช ขนาดกระต่ายนี่ มันไม่มีปัญญาจะปีนป่ายขึ้นไปกินอะไรได้ แต่ก็นั่นแหละ ถ้าจะบอกว่าการเลี้ยงกระต่ายโดยให้กินเฉพาะหญ้าอย่างเดียวก็คงไม่มีใครเชื่อ ที่สำคัญก็คือ แม่ ๆ พ่อ ๆ ที่เลี้ยง กระต่ายอยู่ในเมือง แล้วรักเหมือนลูกอย่างพวกเรานี่ จะไปหาหญ้าหลากหลายชนิดจากที่ไหนให้เขา อีกอย่างหนึ่งอาหารกระต่ายที่ ผลิตออกมาขายกันนั้นมีมากมายและล้วนแต่บรรยาย สรรพคุณกันสุด ๆ ทั้งนั้น ซึ่งก็เหมาะสมเช่นกันที่จะนำมาเลี้ยงกระต่ายในห้อง หรือในบ้านของเรา บทความนี้จึงขอเดินสายกลาง คือขอให้คำแนะนำที่ถูกต้องและทำได้ ในการให้อาหารกระต่ายโดย ขอให้แบ่งช่วงวัยของกระต่าย ออกเป็น ช่วง ๆ ดังนี้ 1. กระต่ายวัยทารก (Infant/Baby) คือกระต่ายแรกเกิดจนถึง 1 เดือนครึ่ง 2. กระต่ายวัยเด็ก (Kids) คือเริ่มจากหย่านม ( ประมาณ 1 เดือนครึ่ง) จนถึง 3 เดือน 3. กระต่ายวัยรุ่น (Junior) คือช่วงหลัง 3 เดือน จนถึง 5 หรือ 6 เดือนแล้วแต่สายพันธุ์ 4. กระต่ายโตเต็มวัย (Adult /Senior) เป็นกระต่ายที่พ้นวัยรุ่นมาแล้ว เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ 5. กระต่ายที่เริ่มตั้งท้อง และช่วงให้นมลูก 6. กระต่ายมีอายุ...อันนี้พูดยาก ว่าจะเริ่มที่อายุเท่าไหร่ เป็นว่าพ้นวัย(ที่ควรจะ) ผสมพันธุ์ก็ แล้วกัน คือตกอยู่ในช่วง 4 ปีขึ้นไป สำหรับกระต่ายเพศเมีย ส่วนเพศผู้ก็อาจประมาณ 5 ปี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)